วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

ชำแหละความฉลาดของไอน์สไตน์


เชื่อ ว่าทั้งนักวิจัยและบุคคลธรรมดาต่างก็สนใจใคร่รู้ว่า สมองของไอน์สไตน์จะแตกต่างจากสมองคนทั่วไปมากน้อยสักแค่ไหน เข้าจึงได้ชื่อว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะ ข้อมูลที่เราทราบในเบื้องต้นนานมาแล้ว มีว่า สมองของยอดอัจฉริยะท่านนี้มิได้ใหญ่โตกว่าสมองของคนปกติ จำนวนเซลล์มีพอๆ กัน แต่ส่วนต่างนั้นมีแน่...
จากการวิเคราะห์สมองไอน์สไตน์ครั้งล่าสุดโดยนักวิจัยจากแคนนาดาตีพิมพ์ใน วรสารแลนเซ็ต ระบุว่าสมองของไอน์สไตน์มีลักษณะบางประการ ที่แตกต่างจากสมองของคนทั่วไปคือ สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสามารถด้านคณิตศาสตร์และการคิดหาเหตุผลแบบspatial reasoning มีขนาดใหญ่กว่าขนาดเฉลี่ยอย่างเห็นได้ชัด และอาจจะมีการติดต่อกันระหว่างเซลล์ที่มากกว่าปกติ ทำให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากผู้ที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบสมองของนักวิทย์นามอุโฆษคือ ดร.แซนดรา วิเทลสัน นักวิจัยด้านระบบประสาทซึ่งเป็นผู้ดูแล brain bank หรือ ธนาคารสมอง ที่มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ที่แฮมิลตัน ออนทาริโอ ประเทศแคนาดา ธนาคารสมองแห่งนี้มีตัวอย่างสทองปกติมากมายที่เจ้าของอุทิศไว้เพื่อการศึกษา ก่อนตาย ทำให้ ดร.แซนดรา มีข้อมูลเปรียบเทียบมากพอ ที่จะใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการศึกษาสมองที่มีอายุใกล้เคียงกับไอน์สไตน์มา ทำการศึกษาเปรียบเทียบ
และผลจากการเปรียบเทียบนี้เอง ที่ยืนยันความรู้เดิมๆ ว่า ขนาดของสมองไอน์สไตน์ก็ไม่แตกต่างจากคนปกติ แต่ส่วนที่ต่างคือไอน์สไตน์มีสมองส่วนที่เรียกว่า อินฟีเรีย พารีทัล โลบ (inferior parietal lobe) ใหญ่กว่าปกติถึง 15 เปอร์เซ็นต์ ดร.แซนดรารายงานไว้ว่า "การรับรู้แบบ visuo spatial การ คิดเชิงคณิตศาสตร์ และการมีมโนภาพของการเคื่อนไหว ขึ้นตรงต่อสมองส่วนนี้มากที่สุด" เราทราบมาว่า การมองสิ่งต่างๆ อย่างทะลุปรุโปร่งของไอน์สไตน์เกิดจาก การคิดออกมาเป็นภาพก่อนที่จะแปลงเป็นภาษาคณิตศาสตร์ เช่น ทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษของ ไอน์สไตน์ที่เกิดจากความครุ่นคิดไอน์สไตน์ที่ว่า จะเป็นไปได้อย่างไรหากเราเคลื่อนที่ไปในอวกาศด้วยความเร็วเท่าแสง
นอกจากสมองส่วน อินฟีเรีย พารีทัล โลบ ที่ใหญ่กว่าปกติแล้ว ยังมีส่วนสำคัญที่เรียกว่า Sylvian fissureซึ่ง ก็ตือ รอยแยกของสมองพบว่าสมองไอน์สไตน์มีร่องนี้เล็กมาก เมื่องร่องนี้เล็กแผ่นสไลด์ภาพตัดขวางของสมองไอน์สไตน์มราอยู่ติดกันแน่น ทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์เป็นไปได้มากกว่าเมื่อมีการถ่ายทอดข้อมูลและ ความคิดมากกว่า ก็นำไปสู่สติปัญญาและความฉลาดมากกว่านั่นเอง
นี่ เป็นเพียง ความเป็นไปได้ทางทฤษฎีประสาทวิทยายุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังไม่อาจสรุปได้ว่าจะเป้นจริงตามนี้หรือไม่ เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าไอน์สไตน์ คือยอดอัจฉริยะและเราก็ทราบว่าสมองของเขาแตกต่างจากคนปกติ แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดว่า สองสิ่งนี้เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
สิ่งที่ช่วยยืนยันให้มั่นใจได้ก็คือ เราจะต้องไปตรวจดูสมองของอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ท่านอื่นๆ ด้วยว่า สมองของเราเหล่านั้นมีความผิดปกติ แบบเดียวกับสมองไอน์สไตน์หรือเปล่า ซึ่งถ้าเป็นจริงก็ยังมีปัญหาอีกข้อหนึ่งคือ ความผิดปกตินี้มาจากพันธุกรามหรือเป็นผลมาจากการฝึกบริหารสมอง ทำให้เราไม่รู้อยู่ดีว่าอัจฉริยภาพของไอน์สไตน์นั้นเป็นสิ่งที่มีมาแต่ กำเนิดหรือเกิดจากการฝึกฝน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น