วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คาวตอง สมุนไพรสุดเจ๋ง ต้านไข้หวัดใหญ่ 2009


พบสมุนไพรไทย "คาวตอง" สุดเจ๋งมีคุณสมบัติพิเศษในการรักษา
การติดเชื้อ ต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ เตรียมศึกษาเชิงลึก
เพื่อพัฒนาเป็นยาต้านเชื้อหวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
เรื่อง ราวการค้นพบสมุนไพรไทย มีสรรพคุณวิเศษในการยับยั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำมาพัฒนาเป็นยารักษาไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และมะเร็ง รวมถึงโรคเอดส์ได้นั้น ถูกเปิดเผยขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ที่โรงแรมสยามซิตี ดร.ศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวภายในการประชุมระดมความคิดเห็นเรื่อง "การใช้นวัตกรรมเพื่อป้องกันการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009" ว่า สนช. มีนโยบายในการสนับสนุนภาคเอกชนในการวิจัย และพัฒนาพืชสมุนไพร เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ ล่าสุดได้มีการค้นพบสมุนไพรพื้นบ้านที่เรียกว่า "คาวตอง" หรือ "ภูคาว" ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้าน พบมากทางภาคเหนือของประเทศไทย ลักษณะ "คาวตอง" เป็น พืชล้มลุก และมีใบคล้ายใบพลู กลิ่นค่อนข้างแรงเหมือนคาวปลา บางครั้งนำไปเป็นส่วนประกอบของอาหาร แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก เพราะมีกลิ่นแรง ไม่หอมเหมือนใบโหระพา หรือใบกะเพรา ที่ผ่านมานักวิจัยต่างชาติได้ศึกษาสารสกัดของคาวตองพบว่า มีคุณสมบัติต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสได้ดี อีกทั้ง ยังมีความเป็นไปได้ในการยับยั้งเชื้อมะเร็ง และมีแนวโน้มที่จะต้าน ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้ ซึ่ง ต้องมีข้อมูลทางวิชาการมารองรับ ก่อนจะนำไปพัฒนาเป็นยาต้านเชื้อไวรัสต่อไป คาดว่าใช้เวลาการวิจัย และพัฒนาสกัดมาเป็นยารักษาโรคดังกล่าวได้อีกประมาณ 2 ปีข้างหน้า ขณะ ที่ทั่วโลกยังหวาดผวากับการแพร่ระบาดของโรค ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เกิดจากเชื้อ A/ H 1 N 1 เนื่องจากเชื้อหวัดนี้ยังคร่าชีวิตพลเมืองของนานาประเทศอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทำให้สถิติยอดผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั่วโลก เพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยล่าสุด (1 มิถุนายน) ไทยพบผู้ติดเชื้อแล้วประมาณ 4 คน ซึ่งทางการไทยได้วิงวอนให้ผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ หากมีอาการป่วย ควรไปให้แพทย์ตรวจอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันเชื้อโรคระบาดในประเทศไทย

แสงสว่างของหิ่งห้อยมาจากไหน

แสงสว่างของหิ่งห้อยมาจากไหน (อ.ส.ม.ท.)

แสง สว่างจากหิ่งห้อย เกิดจากสารลูซิเฟอร์รินไปรวมกับออกซิเจนในอากาศ

และมีสารอีกตัวหนึ่ง คือ สารลูซิเฟอเรส เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนี้

หิ่งห้อยจะเป็นตัวปล่อยออกมาโดยตรง แสงของหิ่งห้อยจะมีลักษณะวาบๆ ที่เป็นเช่นนี้

ก็เพราะแสงสว่างจะขึ้นอยู่กับจังหวะการหายใจ จังหวะหายใจเข้าแสงจะติด และจังหวะหายใจออก

แสงจะดับ แสงที่เกิดจากหิ่งห้อยจะมีปริมาณแสงสว่างที่น้อยมาก เพียง 1 ใน 1,000 จากเทียนไขธรรมดา เท่านั้นเอง โดยหิ่งห้อยทั้งตัวผู้และตัวเมีย

จะใช้แสงของมันดึงดูดเพศตรงข้าม และบางครั้งก็ใช้ล่อเหยื่อ

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า แสงในตัวหิ่งห้อยมีได้ถึง 4 สี คือ สีเขียว สีเขียวแกมเหลือง เหลือง และสีส้ม ขึ้นอยู่กับสภาวะที่แตกต่างกัน